Translation Strategies

กลวิธีในการแปล
     1.  การเติมคำอธิบาย
           คำอธิบายนี้อาจเติมลงไปได้ 2 วิธีคือ เติมลงไปในเนื้อหา หรือใส่คำอธิบายในรูปของเชิงอรรถ (footnote) หรือหมายเหตุ และนำมาไว้ตรงท้ายหน้ากระดาษ โดยมีตัวเลขชี้โยงบอกว่าเป็นข้ออธิบายของคำนั้นๆ
       2.  การใช้วลีหรือประโยคแทนคำ
           นอกจากยืมคำจากต้นฉบับลงมาใช้ในฉบับแปลพร้อมกับเติมคำอธิบายลงไปแล้ว ผู้แปลอาจแก้ปัญหาการไม่มีคำศัพท์ที่เทียบเคียงได้อีกอย่างหนึ่งคือ ใช้วลีหรือประโยคที่บอกลักษณะของสิ่งนั้น
       3.  การใช้คำที่อ้างอิงถึงความหมายที่กว้างขึ้นแทนคำที่อ้างอิงถึงสิ่งที่เฉพาะกว่า
ในกรณีที่คำในต้นฉบับมีความหมายอ้างอิงถึงสิ่งหรือกิจกรรมซึ่งไม่มีในภาษาของฉบับแปลทั้งสิ่งนั้นหรือกิจกรรมนั้นไม่เป็นที่รู้จักในสังคมของผู้อ่านงานแปล วิธีที่ผู้แปลนิยมทำอีกแบบหนึ่ง คือหาคำที่มีความหมายอ้างอิงถึงสิ่งของหรือกิจกรรมในระดับกว้างซึ่งสามารถครอบคลุมเอาคำที่เป็นปัญหานั้นไว้ด้วย
       4.  การเติมตัวเชื่อมระหว่างกลุ่มความคิดต่างๆ
ภาษาบางภาษา เช่น ภาษาอังกฤษแสดงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มความคิด (ประโยคหรือวลี) ด้วยโครงสร้างของประโยคซึ่งไม่มีใช้ในภาษาไทย ในกรณีเช่นนี้วิธีที่จะแสดงความหมายของความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มความคิดเหล่านี้คือ การใช้คำหรือสำนวนที่บอกความสัมพันธ์นั้นๆ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจความหมายได้ชัดเจน
       5.  การตัดคำหรือสำนวนทิ้งไป
คำ หรือสำนวนซึ่งมีความหมายอ้างอิงถึงสิ่งที่ไม่มีในภาษาฉบับแปล และไม่ใช่ความหมายที่สำคัญนักของต้นฉบับอาจจะถูกละไปไม่ปรากฏในฉบับแปลได้ในกรณีเดียว คือ เมื่อการละคำหรือข้อความนั้นซึ่งแม้จะทำให้มีความหมายต้องขาดไปบ้าง จะไม่ทำให้บรรยากาศ และสาระสำคัญของต้นฉบับเยไป คำหรือข้อความที่ตัดออกไปนั้นต้องสั้นและเล็กน้อยเท่านั้น ผู้แปลไม่ควรตัดข้อความทั้งตอนหรือทั้งข้อทิ้งไปแม้ว่าจะเห็นว่าไม่สำคัญ รายละเอียดมากเกินไป  หรือด้วยเหตุผลใดๆ ของผู้แปลเอง

การปรับระดับโครงสร้าง
                  1.    ระดับเสียง หลักสำคัญคือการใช้ตัวอักษรในภาษาฉบับแปล ที่แทนเสียงที่ตรงหรือใกล้เคียงกับเสียงของคำในต้นฉบับ การปรับในระดับเสียงใช้ในการถ่ายทอดชื่อ หรือการยืมคำเดิมลงมาใช้ในบทแปล หรือที่เรียกกันว่าการทับศัพท์
                 2.     ระดับโครงสร้างของคำ โครงสร้างของคำของแต่ละภาษามีทั้งทีเหมือนกันและแตกต่างกัน ส่วนที่ต่างกันและอาจเป็นปัญหาในการแปลมี 2 ประการคือ (1) ความแตกต่างด้านคุณสมบัติ และการทำงานของคำตามหน้าที่ทางไววยากรณ์ในประโยค (2) ความแตกต่างในด้านการประกอบคำด้วยหน่วยเสียงหรือหน่วยคำพิเศษเพื่อบอกความหมายเพิ่งเติมในด้านเพศ (gender) พจน์ (number) กาล (tense) และความหมายด้านอื่นๆ อีก
                 3.   ระดับประโยค การปรับโครงสร้างในระดับประโยคเป็นสิ่งจำเป็นและผู้แปลจะได้พบอยู่เสมอๆ

อ้างอิง: สัญฉวี สายบัว. หลักการแปลใ ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 8: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2550