Part 1: Abu Musa al-Ashari



อบู มูซา อัล-อัสอารี



           When he went to Basrah as governor of the city, he called the inhabitants to a meeting and addressed them: "The Amir al-Muminin, Umar, has sent me to you to teach you the Book of your Lord and the Sunnah of His Prophet and to clean your streets for you". People were taken aback when they heard these words. They could easily understand that one of the responsibilities of a Muslim ruler was to instruct people in their religion. However, that one of his duties should be to clean streets was something new and surprising to them. Who was this governor of whom the Prophet's grandson, al-Hasan, may God be pleased with him said: "There was no rider who came to Basrah who was better for its people than he." His real name was Abdullah ibn Qays but he was and continues to be known as Abu Musa al-Ashari. He left his native land, the Yemen, for Makkah immediately after hearing that a Prophet had appeared there who was a man of rare insight, who called people to the worship of One God and who insisted on the highest standards of morality.

          ครั้นเมื่อ อบู มูซาเดินทางไปยังเมืองบัสเราะ (ในปัจจุบันคือเมืองอัลบัสเราะ ประเทศอิรัก) ในตำแหน่งผู้ว่าการรัฐ ท่านได้เรียกชาวเมืองมารวมตัวและปราศรัยแก่พวกเขาว่า ท่านอุมัร อามีร อัล-มุฮมีนีน ได้ส่งเรามายังท่านเพื่อสอนและเรียนรู้อัลกุรอานและอัสสุนนะฮฺของท่านศาสดา และชี้แนะแนวทางที่เที่ยงตรงแก่ท่าน เมื่อชาวเมืองฟังเช่นนั้นพวกเขาต่างประหลาดใจ แต่ก็เข้าใจได้อย่างง่ายดายว่าหนึ่งในหน้าที่หลักที่ผู้ว่าการรัฐจะต้องรับผิดชอบ คือการเผยแผ่ศาสนาอิสลามให้กับมนุษยชาติ ถึงกระนั้น สิ่งเหล่านี้ยังเป็นเรื่องใหม่และเป็นเรื่องแปลกสำหรับพวกเขาอยู่ดี อัล ฮาซัน ผู้ว่าการรัฐ ซึ่งเป็นหลานชายของท่านศาสดา ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน ได้กล่าวไว้ว่า “ไม่มีมุสลิมคนใดจากบัสเราะที่ขี่ม้าได้ชำนาญกว่า อบู มูซา” ท่านมีชื่อจริงว่า อับดุลลอฮฺ อิบนุ ก็อยส แต่เป็นที่รู้จักในนามของ อบู มูซา อัล อัสอารี ท่านเดินทางออกจากประเทศเยเมนสู่นครมักกะฮฺทันทีที่ได้ยินว่าศาสนทูตได้ปรากฏตัว ณ ที่แห่งนั้น ผู้ที่มีจิตใจที่สูงส่ง ผู้ที่เรียกร้องเชิญชวนมนุษย์สู่การศรัทธาต่ออัลลอฮฺเพียงองค์เดียวและผู้ที่ยืนหยัดอยู่บนคุณธรรมจริยธรรมที่ถูกต้อง

        At Makkah, he stayed in the company of the Prophet and gained knowledge and guidance. He returned to his country to propagate the word of God and spread the mission of the noble Prophet, peace be on him. We have no further news of him for more than a decade. Then just after the end of the Khaybar expedition he came to the Prophet in Madinah. His arrival there coincided with that of Jaffar ibn Abi Talib and other Muslims from Abyssinia and the Prophet welcomed them all with joy and happiness. This time Abu Musa did not come alone. He came with more than fifty persons from the Yemen all of whom had accepted Islam. Among them were his two brothers, Abu Ruhm and Abu Burdah. The Prophet referred to the whole group as the "Asharis". In fact he sometimes referred to all Yemenis as Asharis after Abu Musa al-Ashari. He often praised the group for their soft and tender-hearted nature and held them up to the rest of his companions as a high example of good behavior. He once said of them: "If the Asharis go on an expedition or if they only have a little food among them, they would gather all they have on one cloth and divide it equally among themselves. They are thus from me and I am from them.". Abu Musa soon became highly esteemed in the Muslim community. He had many great qualities. He was a faqih endowed with intelligence and sound judgment and was ranked as one of the leading judges in the early Muslim community. People used to say: "The judges in this ummah are four: Umar, Ali, Abu Musa and Zayd ibn Thabit."
            ณ นครมักกะฮฺ อบู มูซา ใช้ชีวิตร่วมกับคณะของท่านรอซูล ท่านแสวงหาความรู้และศึกษาแนวทางที่ถูกต้อง ท่านเดินทางกลับประเทศเยเมนอีกครั้งเพื่อเผยแผ่คำสอนของ อัลลอฮฺและเผยแพร่ภารกิจของท่านศาสนทูต ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน นานกว่า 10 ปี ที่ไม่ได้รับข่าวสารใดๆจากท่านเลย อบู มูซา เดินทางมาพบท่านศาสดาอีกครั้ง ณ นครมะดีนะฮฺหลังจากสิ้นสุดการทำสงครามคอยบัร การกลับมาของ อบู มูซา ประจวบกับจัฟฟาร อิบนุ อบี ฏอลิบและมุสลิมคนอื่นๆจากอะบิสซีเนีย ท่านศาสดาต้อนรับพวกเขาด้วยความปิติและยินดี การกลับครั้งนี้ อบู มูซาได้กลับมาพร้อมกับชาวแยเมนมากกว่า 50 คน ที่เข้ารับอิสลาม ซึ่งในจำนวนนั้นมี อบู รุฮมและอบู บัรดะฮฺ ซึ่งทั้งสองเป็นพี่น้องของอบู มูซา ท่านศาสดาขนานนามมุสลิมกลุ่มนี้ว่า อัสอารี  บางครั้งก็เรียกชาวเยเมนว่า อัสอารี ตามชื่อของ อบู มูซา อัล-อัสอารี ท่านศาสดามักยกย่องพวกเขาเพราะพวกเขามีความนุ่มนวลและมีจิตใจอ่อนโยน และพฤติกรรมที่เป็นแบบอย่างที่ดีของพวกเขานั้นเองที่ทำให้ท่านศาสดายกย่องพวกเขาให้เป็นสหายของท่าน ครั้งหนึ่งท่านรอซูลได้กล่าวว่า “ถ้าหากชาวอัสอารีออกเดินทางหรือถ้าหากพวกเขามีอาหารเพียงเล็กน้อยในหมู่คณะ พวกเขาจะรวบรวมอาหารทั้งหมดที่มีมาไว้ที่เดียวกันและจะแบ่งให้เท่าเทียมกัน พวกเขามาจากฉันและฉันมาจากพวกเขา” หลังจากนั้นไม่นาน อบู มูซา ก็เป็นที่ยอมรับในหมู่ชาวมุสลิมเพราะท่านเป็นผู้ที่มีคุณลักษณะที่ดีมากคนหนึ่ง ท่านเป็นฟากิฮที่มีความสามารถด้านสติปัญญาและการประเมินสถานการณ์ ท่านได้รับการจัดอันดับให้เป็นหนึ่งในผู้พิพากษาคนสำคัญในหมู่มุสลิมยุคแรก ประชาชาติอิสลามเคยกล่าวไว้ว่า อุมัร, อาลี, อบู มูซา และซัยด อิบนุ ษาบิต คือสี่ผู้พิพากษาของอุมมะฮฺนี้

          Abu Musa had a natural, uncomplicated disposition. He was by nature a trusting person and expected people to deal with him on the basis of trust and sincerity. In the field of jihad, he was a warrior of great courage and endurance and skill. The Prophet said of him: "The master of horsemen is Abu Musa." "Abu Musa's insight and the soundness of his judgment did not allow him to be deceived by an enemy in battle. In battle conditions he saw situations with complete clarity and executed his actions with a firm resolve. Abu Musa was in command of the Muslim army traversing the lands of the Sasanian Empire. At Isfahan, the people came to him and offered to pay the jizyah (in return for military protection) to make peace and avoid fighting. However, they were not sincere in their offer and merely wanted an opportunity to mount a treacherous attack on the Muslims. Abu Musa however saw through their real intentions and he remained on the alert. Thus when the Isfahanis launched their attack, the Muslim leader was not caught off-guard, He engaged them in battle and before midday of the following day, he had won a decisive victory.

            อบู มูซา ใช้ชีวิตอย่างสมถะเรียบง่าย ไม่ยุ่งยาก ท่านมีอุปนิสัยที่เชื่อใจผู้อื่นและคาดหวังว่าผู้อื่นจะปฏิบัติกับท่านบนพื้นฐานของความเชื่อใจและความจริงใจเช่นกัน ในสมรภูมิการญิฮาด ท่านเป็นนักรบที่มีความกล้าหาญ มีความอดทนและมีความว่องไว ท่านศาสดาได้กล่าวเกี่ยวกับท่านไว้ว่า “ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปะการขี่ม้าคือ อบู มูซา” เนื่องด้วยความชาญฉลาดและการตัดสินที่เที่ยงธรรมทำให้ฝ่ายศัตรูไม่สามารถใช้กลอุบายมาหลอกล่อท่านได้ ในสมรภูมิรบ ท่านจะเข้าใจสถานการณ์ได้อย่างชัดเจนและดำเนินการแก้ไขและวางแผนการด้วยความตั้งใจ อบู มูซา ได้บัญชาให้กองทัพมุสลิมเดินทางไปยังดินแดนของจักรวรรดิแซสซาเนีย ณ อิสฟาฮัน (เมืองหลวงเก่าแก่สมัยราชวงศ์ ซาฟาวิด ปัจจุบันอยู่ในประเทศอิหร่าน) ชาวเมืองมาหาท่านและเสนอการจ่าย ญิซยะฮฺ (ภาษีรายหัวที่เก็บจากผู้ที่ไม่นับถือศาสนาอิสลาม ซึ่งเข้ามาอยู่ในราชอาณาจักรอิสลาม) เพื่อให้เกิดความสงบสุขและหลีกเลี่ยงการทำสงคราม แต่ทว่าพวกเขากลับไม่จริงใจต่อสิ่งที่ได้นำเสนอและหาโอกาสใช้เล่ห์อุบายเพื่อโจมตีกองทัพมุสลิม อย่างไรก็ตาม อบู มูซาก็มองเห็นเจตนารมณ์ที่แท้จริงและเตือนกองทัพมุสลิมให้ระมัดระวังตัว ดังนั้นเมื่อกองทัพอิสฟาฮันเริ่มโจมตีกองทัพมุสลิม ผู้นำมุสลิมไม่ได้ล่าถอยจากการสู่รบแต่ท่านกลับต่อสู้เคียงข้างทหารคนอื่นๆ ก่อนเที่ยงของวันรุ่งขึ้นนั้นเอง กองทัพมุสลิมก็ได้รับชัยชนะอย่างสมบูรณ์



อ้างอิง: Abu Musa al-Ashari[ออนไลน์] สืบค้นจาก http://sunnah.org/history/Sahaba/abumusa.html.       [1 กุมภาพันธ์ 2557]