สรุปปัญหาและกลวิธีการแก้ไขปัญหาการแปล



      1.            ปัญหาการแปลศัพท์เฉพาะ
         ศัพท์เฉพาะเป็นคำศัพท์ที่ให้เฉพาะสาขานั้นๆ เช่น สาขาวิทยาศาสตร์ สาขารัฐศาสตร์ สาขาภูมิศาสตร์และสาขาอื่นๆอีกมากมาย หรือเป็นศัพท์ที่ใช้เฉพาะกลุ่มบุคคลในวงการใดวงการหนึ่ง  ซึ่งผู้แปลที่แปลงานประเภทนี้มักจะพบเจอกับปัญหาเหล่านี้ เช่น ไม่รู้ความหมายของศัพท์นั้นๆ หรืออาจจะเข้าใจเพราะเคยได้ยินเขาพูดกันแต่ไม่รู้ว่าต้องแปลออกมาอย่างไร  เป็นต้น ส่วนมากแล้วจะเป็นบทความวิชาการ ซึ่งบทความเหล่านี้จะมีความยากทั้งเรื่องของคำศัพท์และประโยค

กลวิธีการแก้ไขปัญหา
*    จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับผู้แปลที่จะต้องศึกษาสายงานที่จะแปลให้เข้าใจอย่างถ่องแท้ก่อนทำการแปล
*    หลังจากศึกษาข้อมูลแล้วก็กลับมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาที่จะแปลและพยายามคัดแยกคำศัพท์ที่ไม่คุ้น เพื่อหาความหมายที่ถูกต้องและเหมาะสมกับบริบทของประโยค
*    สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เมื่อแปลเสร็จแล้วผู้แปลจำเป็นต้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านงานแปลนั้นๆตรวจสอบก่อน เพื่อความถูกต้องและแม้นยำ

      2.            ปัญหาการตีความประโยค 
               การตีความเป็นส่วนที่สำคัญซึ่งผู้แปลจำเป็นต้องคำนึงถึง บางครั้งการแปล ผู้แปลจะต้องตีความประโยคหรือคำในภาษาต้นฉบับให้ได้ก่อนว่า ภาษาต้นฉบับต้องการกล่าวถึงอะไร เมื่อทราบว่าภาษาต้นฉบับต้องการสื่ออะไร ผู้แปลก็สามารถหาคำศัพท์ในภาษาไทยที่ให้ความหมายใกล้เคียงหรือเหมาะสมกับประโยคนั้นๆ ผู้แปลมักจะจมอยู่กับการแปลตรงตัว ซึ่งการแปลตรงตัวบางครั้งก็ไม่สามารถใช้กับทุกประโยค

กลวิธีการแก้ไขปัญหา
*  ผู้แปลจึงจำเป็นที่จะต้องตีความประโยคให้เข้าใจเสียก่อน เพราะการตีความประโยคจะทำให้ผู้แปลเข้าใจและสามารถถ่ายทอดเรื่องราวจากภาษาต้นฉบับได้อย่างถูกต้อง ประณีต สละสลวย และให้ความหมายชัดเจน
*  การศึกษาตัวอย่างของประโยค การใช้ประโยค จะทำให้ผู้แปลสามารถเห็นภาพมากยิ่งขึ้นและสามารถนำมาแก้ไขหรือปรับเปลี่ยนให้เข้ากับบทแปลนั้นๆได้


       3.            ปัญหาการแปลคำศัพท์ภาษาอังกฤษและการเลือกใช้คำให้ถูกต้อง
          การแปลคำศัพท์แต่ละครั้ง จำเป็นต้องรู้ให้ได้ก่อนว่า คำศัพท์นั้นเป็นคำประเภทไหน คำนาม คำกริยา หรือ คำบุพบท ซึ่งคำศัพท์ในภาษาอังกฤษมีความหมายที่หลากหลาย และมีการใช้ที่แตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับบริบทนั้นๆและควรรู้ด้วยว่า คำใดมีความหมายใกล้เคียง เพื่อให้สามารถเลือกใช้คำได้ถูกต้องตามหมายหมายที่แท้จริง

กลวิธีการแก้ไขปัญหา
*  ผู้แปลจำเป็นต้องเข้าใจก่อนว่าคำศัพท์นั้นเป็นคำประเภทไหน คำศัพท์หนึ่งคำจะให้ความหมายได้หลากหลาย ซึ่งความหมายของคำที่เลือกใช้นั้นจะต้องให้เหมาะสมกับบริบทของประโยค
*  หลังจากที่ได้ความหมายแล้วผู้แปลต้องดูว่าความหมาของคำยเหมาะสมที่จะใช้หรือเปล่า ถ้าใช้แล้วความหมายของประโยคในฉบับแปลผิดไปจากความหมายของต้นฉบับที่ต้องการสื่อ ผู้แปลจำเป็นต้องเลือกใช้คำอื่นหรือคำที่ใกล้เคียงกับความหมายของคำเดิม
*  การใช้พจนานุกรมคำพ้อง (Synonym) จะทำให้ผู้แปลได้คำศัพท์ที่หลากหลาย แต่ละคำศัพท์จะมีระดับความหนักเบาของความหมายต่างกัน ซึ่งสามารถเลือกใช้คำศัพท์ที่สื่อความหมายตรงจากต้นฉบับที่ต้องการสื่อออกมาได้