Part 2: Abu Musa al-Ashari




อบู มูซา อัล-อัสอารี


            In the major campaigns against the powerful Sasanian Empire Abu Musa's role was outstanding. In the great Battle of Tustar itself, he distinguished himself as a military commander. The Persian commander, Hormuzan, had withdrawn his numerous forces to the strongly fortified city of Tustar. The Caliph Umar did not underestimate the strength of the enemy and he mobilized powerful and numerous force to confront Hormuzan. Among the Muslim forces were dedicated veterans like Ammar ibn Yasir, al-Baraa ibn Malik and his brother Anas, Majra'a al-Bakri and Salamah ibn Rajaa. Umar appointed Abu Musa as commander of the army. So well-fortified was Tustar that it was impossible to take it by storm. Several attempts were made to breach the walls but these proved unsuccessful. There followed a long and difficult siege which became even more testing and agonizing for the Muslims when, as we saw in the story of al-Baraa ibn Malik, the Persians began throwing down iron chains from the walls of the fortress at the ends of which were fastened red-hot iron hooks. Muslims were caught by these hooks and were pulled up either dead or in the agony of death.Abu Musa realized that the increasingly unbearable impasse could only be broken by a resort to stratagem. Fortunately, at this time a Persian defected to the Muslim side and Abu Musa induced him to return behind the walls of the fortified city and use whatever artful means he could to open the city's gates from within. With the Persian he sent a special force of hand-picked men. They succeeded well in their task, opened the gates and made way for Abu Musa's army. Within hours the Persians were subdued.

        อบู มูซา มีบทบาทที่โดดเด่นในสงครามครั้งยิ่งใหญ่เพื่อต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิแซสซานิด ในการทำสงครามกับตุสตัรนั้นเอง ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ ฮุรมูซัน ผู้บัญชาการของเปอร์เซียได้สั่งการให้ถอดถอนกองกำลังจำนวนมากไปยังเมืองที่มีป้อมปราการที่แข็งแกร่งของตุสตัร คอลีฟะฮฺอุมัร ไม่ได้ประมาทกับความแข็งแกร่งของศัตรูและได้ระดมกองกำลังที่มีประสิทธิภาพจำนวนมากเพื่อเตรียมพร้อมการเผชิญหน้ากับกองกำลังของฮุรมูซัน ในจำนวนของกองทัพมุสลิมมีทหารที่ผ่านการทำสงครามหลายครั้ง เช่น อัมมัร อิบนุ ยาซีร, อัลบารอฮฺ อิบนุ มาลิก และอนัสพี่ชายของท่าน, มั จรออา อัล บักรี, และ ซาลามะฮฺ อิบนุ รอญาฮฺ ท่านอุมัรแต่งตั้งอบู มูซาเป็นแม่ทัพใหญ่ อบู มูซา คิดว่าเป็นไปไม่ได้ที่จะใช้ลมพายุเพื่อทำลายป้อมปราการที่แข็งแกร่งของตุสตัรได้ หลากหลายวิธีถูกนำมาใช้ แต่วิธีเหล่านั้นก็พิสูจน์ให้เห็นว่ามันไร้ประโยชน์ เนื่องจากระยะเวลาที่นานและความยากลำบากกลายเป็นบททดสอบและสร้างความเจ็บปวดทั้งทางกายและใจแก่ทหารมุสลิมมากขึ้น เมื่อได้เห็นเรื่องราวของ อัล บารอฮฺ อิบนุ มาลิก กองทัพเปอร์เซียเริ่มโยนโซ่เหล็กจากป้อมปราการที่ปลายถูกยึดด้วยตะขอเหล็กที่ร้อนมาก มุสลิมจำนวนไม่น้อยที่โดนตะขอและถูกดึงขึ้นหรือปวดร้าวทรมานจนตาย อบู มูซาเริ่มตระหนักว่าการใช้กลอุบายจะทำให้ฝ่ายตรงข้ามจนมุมมากขึ้น ดังนั้นท่านจึงหันกลับไปยังด้านหลังกำแพงของป้อมปราการและใช้กลอุบายให้ประตูเปิดจากภายใน ด้านเปอร์เซียก็ส่งกองทัพทหารเพื่อเปิดประตูอีกทั้งยังเป็นการเปิดทางให้กองทัพมุสลิมเข้าไปภายในได้อย่าง่ายดาย ภายในไม่กี่ชั่วโมงกองทัพเปอร์เซียก็พ่ายแพ้ให้กับกองทัพมุสลิม

        In spite of the fact that Abu Musa was a strong and powerful warrior, he often left the battlefield transformed into a penitent, weeping person. At such times, he would read the Quran in a voice that profoundly stirred the souls of all who listened to him. Concerning his moving and melodious recitation of the Quran the Prophet, peace be on him, had said: "Abu Musa has indeed been given one of the flutes of the people of David." Also, Umar, may god be pleased with him, often summoned Abu Musa and asked him to recite from the Book of God, saying: "Create in us a yearning for our Lord, O Abu Musa." As a mark of his dedication to the Quran, Abu Musa was one of the few companions who had prepared a mushaf a written collection of the revelations. Abu Musa only participated in fighting against the armies of Mushrikin, armies which tried to oppose the religion of God and extinguish the light of faith.When fighting broke out among Muslims, he fled from such conflict anti never look any part in it. Such was his stand in the conflict that arose between Ali and Muawiyah. It is in relation to this conflict and in particular his role as an adjudicator that the name of Abu Musa al-Ashari is most widely known.

        ทั้งๆที่จริงแล้ว อบู มูซาเป็นนักรบที่เข็มแข็งและแข็งแรง แต่บ่อยครั้งที่ท่านละทิ้งสงครามกลับเป็นผู้ที่สำนึกผิดและผู้ที่รำไห้ เช่นเวลาที่ท่านอ่านอัลกุรอานด้วยเสียงที่ไพเราะลึกซึ้งกินใจทำให้ผู้ฟังนั้นรู้สึกคล้อยตาม และเพราะความกระตือรือร้นและเสียงที่ไพเราะจากการท่องจำอัลกุรอาน ท่านศาสดา ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน จึงกล่าวว่า “อบู มูซา เสมือนผู้เป่าขลุ่ยของประชาชาติบนีดาวูดอย่างแท้จริง” เช่นกัน บ่อยครั้งที่ท่านอุมัร ขอความเมตตาจงมีแด่ท่าน เรียก อบู มูซาเข้าพบและให้อบู มูซา ท่องจำอัลกุรอาน ท่านจะกล่าวว่า “โอ้ อบู มูซา เจ้าจงสร้าง (เพาะพันธ์)การระลึกถึงพระเจ้าของพวกเราเถิด” เนื่องจากท่านมีเป้าหมายที่จะอุทิศตนเพื่ออัลกุรอาน ดังนั้นอบู มูซา จึงเป็นหนึ่งในศอฮาบะฮฺไม่กี่คนที่สามารถรวบรวมงานเขียนอัลกุรอานเพื่อการเผยแพร่ อีกทั้ง ท่านยังมีส่วนร่วมในการทำสงครามกับกองทัพมุซรีกีน ซึ่งเป็นกองทัพที่พยายามต่อต้านศาสนาของอัลลอฮฺและดับแสงแห่งการศรัทธา เมื่อสังคมมุสลิมเกิดความแตกแยกกัน อบู มูซา พยายามแยกตัวออกจากความขัดแย้งนี้โดยที่ไม่เข้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง นั้นเป็นจุดยืนของท่านต่อความขัดแย้งระหว่างท่านอาลีและมุอาวิยะฮฺ แต่เพราะ อบู มูซา อัล อัสอารีเป็นชื่อที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายมากที่สุดโดยเฉพาะอย่างยิ่งบทบาทในฐานะตุลาการ ซึ่งเป็นบทบาทที่มีความเกี่ยวข้องกับความขัดแย้งนี้

         Briefly, Abu Musa's position appeared to be that of a 'neutral.' He saw Muslims killing each other and felt that if the situation were to continue the very future of the Muslim ummah would be threatened. To start off with a clean slate. the Khalifah Ali should give up the position and Muawiyah should relinquish any claim to be Khalifah and the Muslims should be given a free choice to elect whoever they wanted as Khalifah. It was of course true that Imam Ali held the position of Khalifah legitimately and that any unlawful revolt could only have as its object the challenging and overturning of the rule of law. However, developments had gone so far, the dispute had become so bloody and there seemed to be no end in sight except further bloodshed, that a new approach to a solution seemed the only hope of avoiding further bloodshed and continuous civil war. When Imam Ali accepted the principle of arbitration, he wanted Abdullah ibn Abbas to represent him. But an influential section of his followers insisted on Abu Musa. Their reason for so doing was that Abu Musa had not taken part in the dispute from its beginning. Instead he had kept aloof from both parties when he despaired of bringing about an understanding and reconciliation and putting an end to the fighting. Therefore, they felt, he was the most suitable person to be the arbitrator.

           กล่าวโดยสรุปคือ อบู มูซา เป็นกลางไม่เข้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ท่านมองเห็นการเข่นฆ่าระหว่างชาวมุสลิมด้วยกันเองและรู้สึกได้ว่า ถ้าเหตุการณ์ความขัดแย้งยังดำเนินต่อไป ในอนาคตประชาชาติมุสลิมอาจจะถูกคุกคาม เพื่อให้เหตุการณ์ยุติไปได้ด้วยดี คอลีฟะฮฺอาลีควรสละตำแหน่งและมุอาวิยะฮฺควรละทิ้งการอ้างสิทธิ์การขึ้นเป็นคอลีฟะฮฺ อีกทั้งมุสลิมควรได้รับสิทธิในการเลือกผู้ที่จะเป็นคอลีฟะฮฺ เป็นที่รู้กันดีว่าอิหม่านอาลีได้ดำรงตำแหน่งคอลีฟะฮฺอย่างชอบธรรม และการประท้วงที่ผิดกฎหมายอาจจะเป็นเพียงวัตถุประสงค์หนึ่งที่ท้าทายความสามารถและเป็นการโค่นอำนาจกฎหมาย อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นได้ลุกหลามไปไกลแล้ว การต่อต้านกลายเป็นการนองเลือดและดูเหมือนจะไม่ยุติลงง่ายๆเว้นแต่จะยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น ซึ่งการเข้าถึงการแก้ไขปัญหาดูเหมือนเป็นคาดหวังที่พยายามหลีกเลี่ยงการนองเลือดและการเกิดสงครามกลางเมืองก็ยังคงดำเนินต่อไป ครั้นเมื่ออีหม่านอาลีตกลงรับเงื่อนไขของนักตุลาการ และท่านเสนอให้อับดุลลอฮฺ อิบนุ อับบาส เป็นผู้รักษาการณ์แทนท่าน แต่ศอฮาบะฮฺที่มีอิทธิพลยืนยันว่าจะต้องเป็นอบู มูซา เหตุเพราะท่านไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตั้งแต่แรก ทั้งๆที่ท่านพยายามปลีกตัวออกจากทั้งสองฝ่ายเมื่อท่านเห็นว่าการสร้างความเข้าใจ การสมานฉันท์และยุติความขัดแย้งนี้คงเป็นไปไม่ได้แล้ว ดังนั้นบรรดาศอฮาบะฮฺจึงคิดว่า อบู มูซา เป็นผู้ที่เหมาะสมที่สุดที่จะเป็นนักตุลาการ



อ้างอิง: Abu Musa al-Ashari[ออนไลน์] สืบค้นจาก http://sunnah.org/history/Sahaba/abumusa.html.       [1 กุมภาพันธ์ 2557]