นิยามการแปล
การแปลคืออะไร?
การแปลคือการเปลี่ยนรูปแบบของภาษาจากรูปแบบหนึ่ง
เช่น จากภาษาอังกฤษเป็นรูปแบบของภาษาไทย การแปลอาจแปลจากภาษาใดภาษาหนึ่งไปเป็นอีกภาษาหนึ่งก็ได้
รูปแบบของภาษาหมายถึง คำประโยค ข้อความที่แสดงออกเอาไว้เป็นภาษาพูดหรือภาษาเขียน............
§ ถ้าเป็นการแปลภาษาพูดโดยการพูดก็คือการเป็นล่าม
แต่การแปลส่วนใหญ่ในยุคของการถ่ายโอนเทคโนโลยีนี้เป็นการเขียนถ่ายทอดความหมายลงไว้เป็นภาษาแปลที่ผู้อ่านจะเข้าใจได้ง่ายและถูกต้อง
จอห์น
วายคลิฟ (John Wycliffe) กล่าวว่า การแปล คือ การแปลประโยคให้ได้ความชัดเจนโดยใช้ภาษาของคนสามัญ
มาร์ติน
ลูเธอร์ (Martin Luther)
กล่าวว่า การแปล คือ การสามารถถ่ายทอดวิญญาณต้นฉบับออกมาให้ได้
และให้สามัญชนสามารถเข้าใจได้
ยูจีน
ไนดา (Eugene A.Nida) ผู้เชี่ยวชาญทฤษฎีการแปลชาวอเมริกากล่าวว่า
การแปลมิใช่การถ่ายทอดความ หมายของข้อความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่งเท่านั้น
แต่ต้องรักษารูปแบบของข้อความไว้ให้ตรงตามต้นฉบับ
ดานิกา
เซเลสโกวิตซ์ (Danica Seleskovitch) ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการแปล และการสอนวิทยาการแปลว่า สิ่งสำคัญในการแปลมี 3
อย่างที่ต้องคำนึงถึง คือ ข้อความ ความหมายแฝง และการถ่ายทอดความหมายออกมาเป็นภาษาแปลตามธรรมชาติ
ทั้งหมดที่ได้ยกมา พอสรุปได้ความว่า
การแปลนั้นเป็นงานที่ผู้แปลต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบประกอบกับความรู้ในเรื่องของภาษาอย่างน้อยสองภาษาคือภาษาที่
1 (ในที่นี้เรียกว่า Source Language (SL))และภาษาที่ 2 (Target Language(TL)) เพื่อถ่ายทอด
หรือ ถอดความหมายจาก SL ไปสู่ TLให้ผู้อ่านได้เข้าใจอย่างถูกต้องและแม่นยำ
โดยไม่บิดเบือนภาษาต้นฉบับ เป็นธรรมชาติ เสมือนผู้อ่านไม่ได้อ่านจากการแปลมา
MILDRED
L. LARSON ได้สรุปเกี่ยวกับการแปลว่า
ผู้แปลจะประสบความสำเร็จในงานแปลก็ต่อเมื่อ
ผู้อ่านไม่ทราบเลยว่ากำลังอ่านงานแปลอยู่
แต่คิดว่ากำลังอ่านข้อเขียนในภาษาของตนเองเพื่อความรู้และความบันเทิง
จากข้อความข้างต้นผู้แปลจะให้ได้ทั้งความถูกต้องและสำนวนที่ไพเราะด้วยนั้น
อาจยึดหลักการแปลง่าย ๆ 4 ประการเพื่อเป็นข้อเตือนใจดังต่อไปนี้
1. ต้องแปลข้อความให้ชัดเจน กระชับ
และไม่ฟุ่มเฟือย
2. ภาษาที่ใช้ต้องให้เหมาะสมกับสถานการณ์
ไม่ใช้สำนวนอ้อมค้อม เพราะจะทำให้ความคิดเสียรูปไป
3. ใช้ภาษาเรียบง่ายโดยใช้คำที่เข้าใจง่าย
4. ให้มีความสมเหตุสมผล
เจ
ซี แคทฟอร์ด
ให้คำจำกัดความของการแปลไว้ว่าคือการแทนที่ข้อความในภาษาหนึ่ง(ภาษาต้นฉบับ)
ด้วยข้อความอีกภาษาหนึ่ง (ภาษาฉบับแปล) ที่มีความเทียบเคียงกัน
Newmark
: Translation
is a craft consisting of the attempt to replace a written message and/or
statement in one language by the same message and/or statement in another
language
การแทนที่สารหนึ่งหรือข้อความจากภาษาหนึ่งด้วยสารหรือข้อความในภาษาหนึ่ง
ในขณะเดียวกันนักวิชาการไทยได้ให้นิยามการแปลว่า
สทิธาพ
นิจิภูวดล : การแปล (Translation) คือการถ่ายถอดข้อความจากภาษาหนึ่งไปยังอีกภาษาหนึ่ง โดยรักษารูปแบบคุณค่า
และความหมายในข้อความเดิมไว้อย่างครบถ้วนรวมทั้งความหมายแฝงในทาง ปรัชญา
ความคิดความรู้สึก และอื่นๆอีก
สัญฉวี
สายบัว : การแปลเป็นการถ่ายทอดความหมายและรูปแบบของความหมาย
โดยใช้ภาษาเป็นเครื่องมือเพื่อให้การถ่ายทอดนั้นประสบผลสำเร็จ กล่าวคือ
สามารถทำให้ผู้อ่านงานแปลมีผลตอบสนองต่องานที่อ่านได้เทียบเคียงกับผลตอบสนองที่ผู้อ่านต้นฉบับมี